Climate Science Glossary

Term Lookup

Enter a term in the search box to find its definition.

Settings

Use the controls in the far right panel to increase or decrease the number of terms automatically displayed (or to completely turn that feature off).

Term Lookup

Settings


All IPCC definitions taken from Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Working Group I Contribution to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change, Annex I, Glossary, pp. 941-954. Cambridge University Press.

Home Arguments Software Resources Comments The Consensus Project Translations About Support

Twitter Facebook YouTube Mastodon MeWe

RSS Posts RSS Comments Email Subscribe


Climate's changed before
It's the sun
It's not bad
There is no consensus
It's cooling
Models are unreliable
Temp record is unreliable
Animals and plants can adapt
It hasn't warmed since 1998
Antarctica is gaining ice
View All Arguments...



Username
Password
New? Register here
Forgot your password?

Latest Posts

Archives

ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์เคยสูงมากในตอนปลายยุคออร์โดวิเชียน

คำเฉลยทางวิทยาศาสตร์...

ในยุคออร์โดวิเชียนนั้นรังสีจากดวงอาทิตย์มีระดับต่ำกว่าในปัจจุบันมาก ดังนั้นยุคน้ำแข็งจึงพร้อมที่จะเกิดได้แม้ว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอาจจะสูงถึง 3,000 ส่วนในล้านส่วนก็ตาม ข้อมูลระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่คำนวณจากตัวอย่างตะกอนในทะเลแสดงให้เห็นว่าระดับของคาร์บอนไดอกไซด์ในบรรยากาศลดลงอย่างรวดเร็วในยุคออร์โดวิเชียนตอนปลาย เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำปฏิกิริยากับหินในกระบวนการผุกร่อนทางเคมี ซึ่งการลดลงอย่างรวดเร็วของคาร์บอนไดออกซด์ในบรรยากาศนี้เป็นช่วงเดียวกับที่โลกผ่านเข้าสู่ยุคน้ำแข็งจึงกลับยิ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่าคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมภูมิอากาศโลก

ข้อโต้แย้งจากฝ่ายผู้กังขา...

ข้อโต้แย้งต่อแนวคิดเรื่องโลกร้อนข้อหนึ่งคือการเกิดยุคน้ำแข็งในช่วงปลายของยุคออร์โดวิเชียน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอาจจะสูงกว่าในปัจจุบันถึง 12 เท่า คืออาจจะสูงมากถึง 4,400 ส่วนในล้านส่วนเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็นไปตามทฤษฎีเรือนกระจกโลกโดยพื้นฐานแล้ว บรรยากาศโลกในยุคนั้นน่าที่จะร้อนระอุอย่างมหาศาล แต่ในทางตรงข้ามอุณหภูมิของโลกในยุคนั้นกลับไม่สูงกว่าในปัจจุบันเลย ดังนั้นจึงต้องมีปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่คาร์บอนในบรรยากาศที่ควบคุมอุณหภูมิและภาวะโลกร้อน  
ข้อโต้แย้งหนึ่งที่มีผู้หยิบยกขึ้นมาหักล้างแนวคิดของภาวะโลกร้อนเนื่องมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็คือการที่ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเมื่อหลายล้านปีที่แล้วเคยสูงมาก แต่โลกในยุคนั้นกลับเป็นช่วงของยุคน้ำแข็งที่มีพืดน้ำแข็งแพร่ขยายอย่างกว้างขวางโดยรอบขั้วโลกทั้งสอง อย่างไรก็ตามข้อโต้แย้งนี้กลับไม่ได้กล่าวถึงพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ในช่วงนั้นว่ามีระดับที่ต่ำกว่าในปัจจุบันมาก ซึ่งถ้านำข้อมูลทั้งด้านรังสีจากดวงอาทิตย์และระดับคาร์บอนไดออกไซด์มาพิจารณาร่วมกัน ก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีกับภูมิอากาศโลกในขณะนั้นอย่างชัดเจน (Royer 2006)

 

ยุคออร์โดวิเชียนตอนปลายหรือเมื่อประมาณ 444 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคหนึ่งที่เคยเป็นปริศนาให้นักภูมิอากาศดึกดำบรรพ์โต้แย้งกันมากเกี่ยวกับการที่ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สูงถึงประมาณ 5,600 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับระดับของก๊าซคาร์อนไดออกไซด์ในปัจจุบันที่มีเพียงประมาณ 389 ส่วนในล้านส่วน แตในขณะเดียวกับในตอนปลายของยุคออร์โดวิเชียนนี้แผ่นพืดน้ำแข็งขนาดใหญ่ก็ได้แผ่ขยายปกคลุมโลกเป็นบริเวณกว้างและเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ทะเลจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ พืดแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในขณะที่โลกมีระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงมาก แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่าแท้ที่จริงแล้วระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในตอนปลายของยุคออร์โดวิเชียนกลับไม่ได้สูงมากอย่างที่ได้เคยมีการประเมินโดยใช้ข้อมูลเก่าๆ 

 

การศึกษาในอดีตได้คำนวณระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยุคออร์โดวิเชียนโดยแบ่งเป็นช่วงๆ ช่วงละสิบล้านปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีความละเอียดเพียงพอต่อการวิเคราะห์การเกิดยุคน้ำแข็งซึ่งกินระยะเวลาเพียงครึ่งล้านปีในช่วงปลายของยุคออร์โดวิเชียน แต่ในปีพ.ศ. 2552 Young (2009) ได้ศึกษาข้อมูลไอโซโทปของธาตุสตรอนเทียมในชั้นตะกอน ซึ่งธาตุสตรอนเทียมนี้เป็นผลมาจากกระบวนการผุกร่อนทางเคมีของหิน ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้อัตราส่วนของไอโซโทปของสตรอนเทียมในตะกอนเพื่อระบุว่ากระบวนการการผุกร่อนของหินสามารถดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากบรรยากาศได้รวดเร็วเท่าใด ซึ่ง Seth Young สรุปว่าในยุคออร์โดวิเชียนตอนปลายนี้การผุกร่อนของหินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภูเขาไฟซึ่งเป็นกระบวนการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับชั้นบรรยากาศกลับลดน้อยลง ดังนั้นจึงทำให้ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลดลงต่ำกว่า 3,000 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเพียงพอที่จะทำให้เกิดพืดแผ่นน้ำแข็งได้ในยุคนั้นซึ่งพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ต่ำกว่าในปัจจุบัน

และต่อมา Seth Young (2010) ก็ได้รายงานผลการศึกษาแท่งตะกอนที่เก็บมาจากเอสโทเนียและเกาะแอนติคอสติ ในคานาดา เพื่อดูถึงการเปลี่ยนแปลงของไอโซโทปของธาตุคาร์บอน-13 ในหินที่เกิดขึ้นในยุคออร์โดวิเชียน เพื่อประเมินถึงระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศซึ่งเป็นวิธีการที่แม่นยำมากกว่าการศึกษาในอดีตมาก ซึ่งสิ่งที่พบจากการศึกษานี้ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับผลการศึกษาโดยใช้ไอโซโทปของธาตุสตรอนเทียม กล่าวคือระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกลดต่ำลงในช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง ซึ่งก็เป็นช่วงเดียวกับที่แผ่นน้ำแข็งแผ่ขยายตัวนั่นเอง การแผ่ขยายตัวของแผ่นพืดน้ำแข็งจะปกคลุมไม่ให้หินสัมผัสกับอากาศ ปฏิกิริยาการผุกร่อนโดยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นน้อยลง จึงทำให้ภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้นจนกระทั่งแผ่นน้ำแข็งละลายตัว ตามลำดับ

 

งานวิจัยเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า การเกิดของยุคน้ำแข็งในยุคออร์โดวิเชียนไม่สามารถนำมาใช้โต้แย้งแนวคิดภาวะโลกร้อนจากก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ได้ และยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจากการศึกษาเหล่านี้ยังกลับสนับสนุนว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

Translation by anond, . View original English version.



The Consensus Project Website

THE ESCALATOR

(free to republish)


© Copyright 2024 John Cook
Home | Translations | About Us | Privacy | Contact Us